วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

SAP

SAP
ประวัติความเป็นมา
SAP ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยนักวิศวกร คนของบริษัท IBM ผู้ซึ้งพัฒนาและออกแบบระบบการเงิน (Finance) และระบบจัดการวัตถุดิบ (Material Management ) ให้กับบริษัท ICI โดยการพัฒนาครั้งแรก อยู่บนระบบเมนเฟรม (Mainfram and Server) เรียกว่า R2 ต่อไปในปี พ.ศ. 2535 เป็น R3 ที่ทำงานใน สภาวะแวดล้อมแบบ Client and Server และล่าสุดคือเอ็นทรอไพรส์ Enterpise ที่สามารถทำงานบนอินเตอร์เน็ต SAP ไม่เพียงแต่เป็นชื่อของบริษัทแต่เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์ เช่นกัน SAP มีชื่อเต็ม คือ (System Application Products in Data Processing) SAP เป็นบริษัทเยอร์มันแต่มีสาขาอยู่ทั่วโลก ให้บริการซอฟต์แวร์ ครอบคลุมลักษณะธุรกิจต่างกัน 23 แบบ ในขณะที ซอฟแวร์อื่นๆๆให้ความสนใจในแต่ละส่วน ของธุรกิจแต่ SAP มองทุกส่วนของธุรกิจ แม้ว่าผลิตภัณฑ์ของ SAP มีการแยกข่ายเป็นระบบแต่ทุกระบบ มีการจัดเก็บข้อมูลอยู่ที่เดียวกันและมีการทำงานที่สัมพันธ์กันทุกระบบ (Integrated modules ) SAP ถูกพัฒนาเพื่อสนองความต้องการทางธุรกิจที่แสวงหาการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่องานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
เนื่องจากข้อมูลเป็นหัวใจของการพัฒนาธุรกิจในปัจจุบัน ลูกค้ามีความคาดหวังสูง ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างมาก ทำให้หลีกเลี่ยงหนีไม่พ้นที่ต้องมีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพ ที่ฉับไว และสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว กับผู้บริหารเพื่อการตัดสินใจของ SAP สามารถให้สิ่งเหล่านี้ได้ จึงทำให้ปัจจุบันมีผู้ใช้ SAP มากว่า 12 ล้าน คน ได้ได้ติดตั้งให้กับลูกค้ามากว่า 64,500 แห่ง

ความหมาย

SAP คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้ และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้

กล่าวโดยสรุป System Application Products (SAP) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภท ERP (Enterprise Resource Planning) ของ ประเทศเยอรมันที่ใช้ควบคุมดูแลทุกสายงานของบริษัท ERP เป็น ซอฟแวร์ ที่ใช้ในการ Mange ได้ทั้งองค์กร โดยที่ Common Database เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ทีเดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้มีประสิทธิภาพ มีการ Share ข้อมูลสูงสุด โดยแต่ละส่วนสามารถดึงข้อมูลส่วนกลาง ที่ตัวเองสนใจมาวิเคราะห์ได้ และ สามรถที่จะ Integrate ได้หมดไม่ว่าจะเป็น Marketing Manufacturing Accounting และ Staffing ก่อน ที่จะมีระบบ ERP นั้น เดิมในวงการอุตสาหกรรมประมาณช่วงทศวรรษ 1960 ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตทางด้านการคำนวณ ความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material Requirement Planning (MRP) ก็ คือเราจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการส่วนของวัตถุดิบ Material ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจึงมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนในด้านการของเครื่องจักร (Machine) และส่วนของเรื่องการเงิน (Money) นอกเหนือไปจากส่วนของวัตถุดิบ ซึ่งเราเรียกระบบงานเช่นนี้ ว่า Manufacturing Resource Planning (MRP II)

จากจุดนี้เราพอจะมองเห็นภาพคร่าวๆ ของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารงานอุสาหกรรมได้ ดังที่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า ระบบ MRP นั้นจะเข้าช่วยในการจัดการทางด้าน Material ส่วนระบบ MRP II นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการใน M อีกสองตัวนอกเหนือจาก Material ก็คือ Machine และ Money ซึ้งระบบ MRP II ที่ชื่อ TIMS ของประเทศนิวซีแลนด์ จะมีเมนูหลักของ Module 3 Modules หลักด้วยกันคือ Financial Accounting Distribution และ Manufacturing และใน Module ของ Manufacturing จะมีส่วนของ MRP รวมอยู่ด้วย เพราะ ERP มีต้นกำเนิดมาจากระบบ MRP และ MRP II นั้นเอง
ERP จะเน้นให้ทำ Business Reengineering เพื่อปรับปรุงระบบให้เข้ากับ ERP ซึ่งจะแบ่ง Function Area เป็น 4 ส่วน หลักๆๆ คือ
1. Marketing Sales
2. Production And Materials Management
3. Accounting And Finance
4. Human Resource

แต่ละส่วนจะมี Business Process อยู่ในนั้น ซึ้งจะมีหลากหลาย Business Activity มา
ประกอบกันเช่น Activity การออก Invoice เป็น Activity จะได้ไปต่อเนื่องกันหลายๆๆอันออกไปจนกลายเป็น Process ที่เรียกว่า “Computer Order Management” ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ Functional Area ที่เรียกว่า Marketing Concept หลักๆของ ERP คือ เอาทุกข้อมูลของแต่ละแผนกมา Integrate กัน เพื่อ Share ข้อมูลกัน
เป้าหมายธุรกิจในเริ่มแรก เน้นลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ Enterprise – Scale แต่ในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปถึงลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง SAP มีการสร้างระบบงานทางด้าน Financial Accounting ที่เป็นลักษณะ Real – Time และ Integrate Software
ในปีต่อมา SAP ได้มีการพัฒนาระบบงานเพิ่มทางด้าน Material Management Purchasing Inventory Management และ Inventory Management และ Invoice Verification ในปี 1997 ได้เปลี่ยนใช้ชื่อบริษัทเป็น System Anwendungen Produkte in der Datenverarbeitung (System Applications Products in data Processing) และได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เมือง Walldorf จากนั้น sap ก็ได้พัฒนาระบบงานเพิ่มขึ้น เช่น Assets Accounting เป็นต้นในปี 1978 SAP ได้เสนอระบบงานที่เป็น Enterprisewide Solution ที่ชื่อว่า SAP/R2 ซึ่งทำงานอยู่บนระบบ Mainframe พร้อมกับเพิ่มระบบงานทางด้าน Cost Accounting ในปี 1992 SAP ได้เสนอระบบงานที่ทำงานภายใต้ Environment ที่เป็น 3 Tier Clien/Server บนระบบ UNIX ที่ชื่อว่า SAP R/3ในปี พ.ศ. 2532 SAPได้ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่ประเทศสิงคโปร์เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทางธุรกิจในเอเชียใต้และประเทศย่านแปซิฟิก ต่อมาได้ขยายสาขาในภูมิภาคนี้ใน ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปินส์ และประเทศไทยกรกฎาคม พ.ศ. 2546 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้เลือกใช้ mySAP Supplier RelationshipManagement (SRM) เพื่อมาช่วยในการจัดซื้อจัดจ้าง และก่อให้เกิด Supplier network ขึ้นมา โดยหวังว่าในที่สุดจะทำให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่รวดเร็วขึ้นและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้ซึ่งมีผลต่อ 10 บริษัทที่เป็นคู่ค้า
สินค้าและบริการ
ลูกค้าที่สำคัญของ SAP ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกคือ Singtel,Tata Group of Companies,Siam Cement, Telom Asia, PT Astra, San Miguel, Uniliver, FAW-Volkswagen, Sony Computer Entertainment, 7-Eleven Storer, General Motors, Novartis

ผลิตภัณฑ์ของ SAP
ระบบ SAP ประกอบด้วยหลาย module ของแต่ละส่วนของการจัดการที่เอามารวมกันและทำงานร่วมกัน เนื่องด้วยตลาดและความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของระบบ มีบริษัท sofrware ที่พยายามสร้างโปรแกรมที่สนับสนุนแต่ละส่วนของธุรกิจ ในขณะที่ SAP พยามยามสร้าง sofrware ที่เหมาะสมกับธุรกิจ SAP โดยให้โอกาสเลือกใช้แค่ระบบเดียวแต่สามารถทำงานได้กับทุกส่วนของธุรกิจ ทั้งยังสามารถติดตั้ง R/3 application มากกว่า 1 ตัวเป็นการเพิ่มความเร็วในการทำงาน SAP มีหลาย Module มีหน้าที่ต่างกันแต่ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว (แต่ละ Module คือแต่ละส่วนของธุรกิจ) ผลิตภัณฑ์SAPมี 2 กลุ่ม คือ SAP R/2 ใช้สำหรับเมนเฟรม และ SAP R/3 ใช้กับระบบ client/server SAP เป็นบริษัทของ Germen แต่แยกการทำงานเป็น บริษัทย่อย,หุ้นส่วน,และพันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก
ผลิตภัณฑ์มี 2 กลุ่ม
SAP R/2 ใช้สำหรับเมนเฟรม
SAP R/3 ใช้กับระบบ client/server

ตลาดของผลิตภัณฑ์ SAP

ตลาดของ SAP มีเกือบทุกอุสาหกรรม รวมไปถึง รัฐบาล,สถานศึกษา,และโรงพยาบาล
โดยคุณสามารถพบผู้ใช้งาน SAP ในธุรกิจดังต่อไปนี้
เหมืองแร่และเกษตรกรรม
น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
เคมี
ยา
เครื่องปั้นดินเผาและแก้ว
การก่อสร้าง
อุตสาหกรรมหนัก
รถยนต์
เรือ เครื่องบิน และรถไฟ
การขนส่งและการท่องเที่ยว
สินค้าอุปโภคบริโภค
เสื้อผ้าและเส้นใย
การขายส่งและการขายปลีก
การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
คลังสินค้า การกระจาย และ การบรรจุภัณฑ์
เงินทุน ธนาคาร และการประกันภัย
รัฐบาล
พิพิธภัณฑ์
โรงพยาบาล
การศึกษาและการค้นคว้า
ที่ปรึกษา
เป้าหมายของบริษัท SAP

1. ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)
2. กำไร (Profitability)
3. การเจริญเติบโต (Growth)
4. ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction)

Mainframe คือคำที่กลุ่มอุตสาหกรรมใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำ เช่น บริษัทไอบีเอ็ม (IBM)ที่ผ่านมา เครื่อคอมพิวเตอร์แมนเฟรมจะทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมแบบสู่ศูนย์กลาง (Centralized) มากกว่าจะเป็นแบกระจาย (Distributed) แต่ในปัจจุบัน เครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มสามารถทำหน้าที่เสมือนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้แล้ว มันสามารถให้บริการแก่ยูสเซอร์และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กใดๆในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
client/server
client/server เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 โปรแกรม โดยโปรแกรมหนึ่งที่เป็น client จะสร้างคำของบริการ จากอีกโปรแกรม หรือ server ที่จะทำให้การขอครบถ้วน ถึงแม้ว่าแนวคิด client/server สามารถใช้โดยโปรแกรมภายในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว แต่แนวคิดนี้ เป็นแนวคิดสำคัญในระบบเครือข่าย ในเครือข่ายแบบจำลอง client/server ให้แบบแผนการติดต่อภายในโปรแกรม ที่ให้ประสิทธิภาพการกระจายข้ามตำแหน่งที่ต่างกัน ทรานแซคชันของคอมพิวเตอร์ใช้แบบจำลอง client/server เช่น การตรวจสอบบัญชีธนาคารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ โปรแกรม client ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะส่งคำขอไปที่โปรแกรม server ที่ธนาคารโปรแกรม server จะส่งต่อคำขอไปยังโปรแกรม client ของตัวเอง ซึ่งเป็นการส่งคำขอไปยังฐานข้อมูลแม่ข่ายในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นของธนาคาร เพื่อถึงข้อมูลจากบัญชีของผู้ขอ ข้อมูลจากบัญชีจะได้รับการส่งกลับไปยัง client ของข้อมูลธนาคาร ซึ่งเป็นการข้อมูลกลับไปยังโปรแกรม client ในคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงสารสนเทศให้กับผู้ขอหรือผู้ใช้


ประโยชน์ของ SAP ที่มีต่อองค์กรอื่น
- ทำให้องค์กรอื่นสะดวกสบายในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของ SAP
- สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร
- องค์กรสามารถดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
- องค์กรไม่ต้องสร้างโปรแกรมขึ้นมาเองโดยซื้อโปรแกรมของ SAP

ไม่มีความคิดเห็น: